วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทความ ธนาคารเวลา

ธนาคารเวลา

นางสาวบุษกร ศรีสุข รหัสนิสิต 57011316102
กลุ่มเรียนที่ 2

                        บทความนี้ เมื่อท่านอ่านจบ ให้ถามตัวเองว่า
                         ” สิ่งไหนที่สำคัญ สิ่งนั้นทำแล้วหรือยัง ? ”
                        ” คนไหนที่เรารัก ทำดีกับเค้าแล้วหรือยัง ? ”

         ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท ไม่ม การยกยอดคงเหลือไปวันรุ่งขึ้น ทุกตอนเย็นจะลบยอดคงเหลือทั้งหมดที่คุณไม่ได้ใช้ระหว่างวัน คุณจะทำอย่างไร? แน่นอนที่สุดคุณต้องถอนมาใช้ทุกบาททุกสตางค์ ใช่ไหม!! เราทุกคนมีธนาคารอย่างนั้นเหมือนกัน ธนาคารแห่งนี้ชื่อว่า เวลามันเข้าบัญชีให้คุณ 86,400 วินาที ทุกคืนมันจะถูกล้างบัญชีถือว่าขาดทุนตามจำนวนที่คุณพลาดโอกาสที่จะลงทุนในสิ่งดีๆ มันไม่สะสมยอดคงเหลือ ไม่ให้เบิกเกินบัญชี ในแต่ละวันจะเปิดบัญชีใหม่ให้คุณ ทุกค่ำคืนจะลบยอดคงเหลือของทั้งวันออกหมด ถ้าคุณเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ในระหว่างวัน ผลขาดทุนเป็นของคุณ ไม่สามารถถอยหลังกลับไปได้ ไม่มีการถอนของ วันพรุ่งนี้มาใช้ได้ คุณต้องมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันด้วยยอดเงินฝากของวันนี้ ให้ลงทุนจากเงินฝากเหล่านี้เพื่อได้ผลตอบแทนมาสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อสุขภาพ ความสุข และความสำเร็จ! นาฬิกากำลังเดิน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทำทุกขณะที่คุณมีให้มีคุณค่า! และจำไว้เสมอว่าเวลาไม่คอยใครแม้สักคนเดียวเมื่อวานเป็นอดีต
พรุ่งนี้ยังยากที่จะอธิบาย วันนี้เป็นของขวัญ เราจึงเรียกว่า “Present
      เวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ การเดินที่ไม่มีวันหยุดของเวลานั้น  เราอย่าได้ วิ่งตามเวลา  หรือร้องขอชะลอเวลา  เพราะไม่สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง  การตั้งมั่น และมีสติ กับเวลาที่เรามีอยู่ นี่ต่างหาก เป็นสิ่งสำคัญว่า  ทุกเวลาทุกนาทีที่มีเท่ากันนี้ เราจะทำอย่างไร ให้เกิดคุณค่า และความหมายในชีวิต  ไม่ใช่สัก แต่ว่ามีชีวิต ไปวันๆ แม้ไม่ได้ทำอะไรที่เกิดประโยชน์กับตัวเอง ก็อย่าได้ ทำให้เกิดโทษกับบุคคลอื่น หรือ สังคมเลยเพราะมันทำให้เวลาที่คุณมีนั้นสูญเปล่าแบบไร้ประโยชน์  ความหมายและคุณค่า  อย่างน่าเสียดาย เมื่อถึงคราที่นึกขึ้นมาได้  คุณจะไม่สามารถ ร้องหาเวลาที่จะมาแก้ไข ในสิ่งที่คุณกระทำได้เลย  มันผ่านไปรวดเร็วมาก
      บางครั้งเราเผลอคิดว่า เวลานั้นเหลืออีกมากมายสำหรับชีวิต แท้จริงแล้ว เวลาเรานึกถึงเวลาเหมือนกับเรามองหลอดด้าย ที่มีด้ายอยู่เต็ม เราก็มักเผลอคิดว่า มีด้ายมาก พอที่จะสร้างสรรค์งานสักชิ้นหรือหลายชิ้น จึงไม่ได้เตรียมด้ายสำรอง หรือใช้มันให้เกิดประโยชน์ที่สุด กลับใช้ แบบฟุ่มเฟื่อยตัดทิ้งไปบ้างอย่างน่าเสียดาย ใช้ด้ายยังไม่พอที่งานจะเสร็จสักชิ้น ด้ายหมดซะนี่ แท้จริงแล้ว ด้ายนั้นที่เราเห็นว่ามีเต็มหลอด แต่จริงมีนิดเดียว เพราะแกนด้ายใหญ่มากต่างหาก เรามองไม่เห็นว่าแกนด้ายใหญ่แค่ไหนนั่นเอง เราจึงไม่ระมัดระวัง จะนึกได้ก็ต่อเมื่อ มันใกล้หมด ไม่พอใช้ที่งานจะเสร็จ ผลงานที่ออกมาจึงไม่สมบูรณ์แบบ ดั่งที่ใจอยากให้เป็น ก็ทำได้แต่นั่งเสียดาย "ไม่น่าเลย"

ดังนั้น อย่าปล่อยให้เวลาหมดไป โดยไม่มีความหมายในคุณค่าแห่งชีวิตอีกเลย"
                ชลัญธร javascript:try{if(document.body.innerHTML) ค้นหาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น